การจัดการอารมณ์วัยทอง
วัยทอง มักจะใช้เรียนผู้หญิงที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย แท้จริงเเล้ว วัยทอง เป็นอาการของสตรีที่มีอายุระหว่าง 35-50 ปีที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน บางคนก็เรียกว่า “วัยหมดระดู” เรื่องของการเข้าสู่วัยทอง นับเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสตรีเพศที่เปลี่ยนไปตามวงจรของชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเข้าสู่วัยทองคุณผู้หญิงก็เสี่ยงที่จะมีโรคหลายโรคเกิดมากในวัยนี้ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน มะเร็งเต้านม เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ตนเองว่ามีอาการเหมือนคนเข้าสู่วัยทอง คุณควรปฏิบัติตน ดังนี้
ข้อปฏิบัติตนเพื่อจัดการอารมณ์วัยทองเพื่อสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ดี
1.ให้ความใส่ใจในการเลือกอาหารการกิน ควรเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
2.ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
3.เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์
4.ใช้สารหล่อลื่นก่อนร่วมเพศ
5.ตรวจเต้านม มะเร็งปากมดลูกทุกปี
ด้าน ศ.นพ.นิมิต เตชไกรชนะ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่สตรีส่วนใหญ่ยังมีอายุยืนยาวไปไม่ถึงระยะเวลาที่จะเข้สู่วัยหมดระดู สตรีในยุคนั้นจึงยังไม่ประสบปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในวัยทองมากนัก อย่างไรก็ตาม อายุขัยของสตรีทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังเช่น สตรีไทยที่มีอายุขัยเฉลี่ยในปัจจุบันมากกว่า 70 ปี จึงมีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตและประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงในวัยทองมากขึ้น
เตรียมตัวเพื่อสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยทอง
เป็นการดีที่เราจะทราบถึงอาการของคนในวัยทอง เพื่อเตรียมรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับญาติผู้ใหญ่ของเราหรือแม้กระทั่งตัวเราเองทั้งด้านร่างกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ส่วนวิธีการรักษา ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหรือฮอร์โมนทดแทนในระยะแรก เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนในเลือดไม่ให้แกว่งไกวมากนัก จะช่วยให้สภาพจิตใจและอารมณ์มั่นคงขึ้น ทำให้ง่ายต่อการรักษาในขั้นต่อไป ทั้งนี้ ในบางรายที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างฉับพลัน ก็อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนในระยะสั้นเพื่อบรรเทาอาการ และเมื่ออาการสงบมั่นคงแล้ว จึงค่อยลด ละ เลิกการใช้ยา
ฉะนั้น เมื่อเข้าสู่วัยทองแล้ว เราก็ควรจะดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตให้เหมาะสมกับวัย ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยหรือประพฤติตัวเหมือนวัยสาวเพราะร่างกายของคนเรานั้นต้องการอาหาร การดูแลพักผ่อนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละวัย